Home Sweet Home

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใครคือคนที่ควรจะฝากชีวิต



เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสชมภาพยนต์เรื่อง Happy Birthday ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าประทับใจมาก โดยเฉพาะบทของพระเอก คุณ อนันดา แอมเวอริ่งแฮม ซึ่งรับบทเป็นผู้ชายที่ได้มอบความรักให้กับผู้หญิงที่ตนรักอย่างสุดหัวใจ และได้ให้คำมั่นสัญญากับผู้หญิงที่ตนรัก ว่าจะรักและดูแลรับผิดชอบชีวิตเธอไปจนตลอดชีวิต

และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เขารัก เธอประสบอุบัติเหตุจนกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา ซึ่งมีแต่ร่างกายที่ไร้สมรรภาพ โดยสมองของเธอได้ตายไปแล้ว มีแต่เพียงลมหายใจที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อรักษาชีวิตร่างกายที่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ ให้มีชีวิตต่อไปในโลกใบนี้ โดยที่เธอไม่สามารถรับรู้ ถึงสุข ทุกข์ หรือภาระใดๆ โดยเฉพาะชีวิตร่างกายจของเธอเองที่ต้องตกเป็นภาระของคนที่รักเธอ ซึ่งก็คือพระเอกที่เป็นคนรัก หรือแฟน แต่ยังมิใช่สามีของเธอที่ถูกต้องตามกฎหมาย และรวมทั้งผู้เป็นพ่อเป็นแม่ของเธอซึ่งเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นคนที่รักและห่วงใยเธออย่างไม่มีเงื่อนไข

สุดท้ายพ่อแม่ของเธอไม่สามารถอดทนเห็นลูกอยู่ในสภาพ บุคคลที่มีแต่ร่างกายที่ไร้สมรรถภาพ มีเพียงลมหายใจที่ต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งแพทย์ก็ได้ลงความเห็นว่าเธอเป็นผู้ไร้สมรรถภาพ โดยสมองได้ตายไปแล้ว พ่อแม่ของเธอจึงได้ตัดสินใจยื่นคำร้องเพื่อแจ้งความประสงค์ต่อศาล ให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจเพื่อปลดปล่อยให้ชีวิตของเธอจากไป ดีกว่าอยู่อย่างไร้สมรรถภาพ และไร้ซึ่งจิตวิญญาณ แต่พระเอกของเราก็ได้ยื่นคัดค้านต่อศาล โดยไม่ยินยอม ไม่เห็นด้วยต่อความประสงค์ของผู้ได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่ของเธอ

แต่ในความเป็นจริง ถ้าเราทราบล่วงหน้าว่า ชีวิตจะตกในสภาพเช่นนี้ เราก็สามารถเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดนี้ได้โดยการแสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร บักทึกไว้ว่า เราเลือกที่จะจากไปอย่างเป็นสุขโดยไม่ต้องตกเป็นภาระของใครในสภาพผู้ไร้สมรรถภาพ หรือต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมานจากการเจ็บ ป่วยในวาระสุดท้ายของตนเอง

ซึ่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550
"บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง"

ถึงตอนนี้ เราคงจะตระหนักมากขึ้นว่าเราจะฝากชีวิตไว้กับใครดี หรือถ้าไม่มีใครจริงๆที่เราจะไปฝากชีวิต อย่างน้อยเราก็ยังสามารถที่จะกำหนดชีวิตความเป็นความตายของเราได้ ถ้าเราได้เตรียมพร้อม และวางแผนชีวิตของตนเองไว้ล่วงหน้า

เขียนโดย อรุณวรรณ เจิมจำรูญ : นามปากกา ผู้ใฝ่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใช้ "น." หรือ "น.ส." ดีหนอ เมื่อจดทะเบียนสมรส


ในอดีตเป็นที่รู้กันดีในหมู่สาวๆ ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อย หรือสาวใหญ่ ว่า หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ผู้หญิงไทยจะต้องถูกตีตราขึ้นทะเบียน เปลี่ยนคำนำหน้าของตนจาก “นางสาว” มาเป็น “นาง” จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนมีคำถามกับตัวเองหลังจากแต่งงานว่า จะจดหรือไม่จดทะเบียนสมรสดีหนอ ปัจจุบันผู้หญิงไทยไม่ห่วงและกังวลแล้วว่า แต่งแล้วจะจดหรือไม่จดทะเบียนสมรสดีหนอ เพราะได้มีพระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 ในกฎหมายมาตราที่ 5 คือ

มาตรา 5 ว่าด้วยหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้
แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

กว่ากฏหมายฉบับนี้จะคลอดออกมาได้ ก็ต้องรวบรวมเหตุและผล นานาประการ ที่จะให้ผู้หญิงไทยได้รับสิทธิเท่าเทียม
กับผู้ชายไทยอย่างแท้จริงโดยเฉพาะเรื่อง คำนำหน้าของผู้หญิงหลังจดทะเบียนสมรสที่เห็นได้ชัดว่ายังมีความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกับผู้ชาย โดยผู้หญิงจะต้องถูกตีตราเปลี่ยนคำนำหน้าจาก “นางสาว” เป็น “นาง” ในขณะที่ผู้ชายที่ผ่านการจดทะเบียนสมรสมาแล้วสักกี่ครั้งก็ตาม ก็ยังคงเป็น นาย ตลอดไป

ดังนั้น ผู้หญิงไทยที่แต่งงานและจดทะเบียนสมรสแล้ว สามารถใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจตามพระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ซึ่งแต่เดิมต้องเปลี่ยนจาก "นางสาว" มาเป็น "นาง" เท่านั้น

พระราชบัญญัติฉบับนี้นำมาซึ่งความเหมาะสมในด้านความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิง และ ผู้ชายในสังคมไทย และยังทำให้ผู้หญิงรู้สึกมั่นใจที่จะตัดสินใจใช้ชีวิตคู่กับผู้ชายที่ได้เลือกสรรแล้วอย่างถูกต้อง ตามวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม

และเป็นประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ต่อผู้หญิงไทยทุกคน โดยทำให้ผู้หญิงกล้าที่จะดำเนินและมีชีวิตคู่ไปพร้อมกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนได้อย่างมั่นใจ เพราะมีสิทธิ เสรีภาพที่จะเลือกเป็น หรือ ไม่เป็น นาง ตามความสมัครใจ หลังจดทะเบียนสมรส และไม่ต้องคอยเปลี่ยนคำนำหน้า จากนางสาว เป็น นางเมื่อจดทะเบียนสมรส หรือสามารถใช้นางสาวต่อไปได้ถ้าต้องจดทะเบียนหย่าเมื่อชีวิตคู่ไม่สมดังหมาย

กระนั้น จึงไม่ต้องสงสัยแล้วว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ที่จดทะเบียนสมรสแล้วแล้วจะเลือกใช้คำนำหน้าว่า “น.” หรือ “น.ส.” ดีหนอ อย่างไรก็ดี คำนำหน้านามของผู้หญิงจะเป็นอะไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงจะละทิ้งหน้าที่ รู้ดี รู้ชอบ ในบทบาทหน้าที่ของความเป็นแม่ และเป็นภรรยา ซึ่งต้องมีบทบาทหน้าที่ดูแลปรนนิบัติสามีและเลี้ยงดูบุตรเพื่อความสุขแห่งชีวิตคู่และครอบครัว

เขียนโดย อรุณวรรณ เจิมจำรูญ : นามปากกา ผู้ใฝ่ดี

วิเคราะห์บทความเรื่องการซื้อขายสินค้าเงินผ่อน


ในปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าเกือบทุกแห่ง จะมีเครื่องใช้อุปโภค บริโภควางจำหน่ายมากมาย โดยเฉพาะเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ มีทั้งแบบล้ำทันสมัย ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ซึ่งเป็นทั้งสินค้าที่จำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งล่อตา ล่อใจให้ผู้เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า อดที่จะแวะดู และก็เกิดความต้องการอยากได้มาครอบครองเพื่อตอบสนองความต้องการและนำมาใช้ประโยชน์ของแต่ละคนต่างๆกันไป

ถึงแม้ว่าทุนทรัพย์ในการซื้อไม่เพียงพอ แต่ห้างสรรพสินค้าก็มีบริการให้ซื้อสินค้าแบบเงินผ่อน โดยชำระเป็นงวดประจำเดือนหรือตามเงื่อนไขที่กำหนด

คู่สัญญาตกลงซื้อขายกันได้เรียบร้อยเมื่อใด สัญญาซื้อขายก็สำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดเมื่อนั้น
1. การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
2. การส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อ
3. การชำระราคาแก่ผู้ขาย เป็นเพียงหนี้อันเกิดขึ้นแก่คู่สัญญาที่ได้ตกลงซื้อขายทรัพย์สินกัน ไม่ใช่เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดของการซื้อขาย

การซื้อขายสินค้าเงินผ่อนนั้นเป็นการซื้อขายแบบเสร็จเด็ดขาด โดยที่ผู้ซื้อสามารถรับสินค้าไปได้เลย และสามารถนำมาใช้เอง หรือไปให้ หรือขายต่อใครก็ได้ แต่มีเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายเงินผ่อนว่าจะต้องชำระเงินคืนเป็นงวดๆตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายเงินผ่อนของห้างสรรพสินค้านั้นๆ โดยที่คู่ซื้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย และผู้ซื้อจะต้องลงนามหรือเซ็นสัญญาซื้อขายนั้น

และถ้าผู้ซื้อไม่ชำระเงินคืนตามงวดและเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาซื้อขาย ทางห้างฯ ก็จำนำหลักฐานสัญญาซื้อขายมาใช้สำหรับฟ้องร้องให้บังคับคดี ในสัญญาซื้อขาย

การซื้อขายสินค้าเงินผ่อนจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยตอบสนองความต้องการที่จะมีเครื่องใช้อำนวยความสะดวกแก่ทุกคน ถ้ารู้จักประมาณตน โดยรู้ถึงความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของตน ก็จะเป็นสุขยิ่ง แต่ถ้าไม่สามารถประมาณตนเองได้ จนทำให้เป็นหนี้ท่วมตัว ท่วมหัว ก็ทำให้เกิดทุกข์ได้มหาศาล

เขียนโดย อรุณวรรณ เจิมจำรูญ : นามปากกา ผู้ใฝ่ดี

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัญญาซื้อขาย

อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
ลักษณะทั่วไปของสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาซื้อขายมีคู่สัญญาสองฝ่าย
2. สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
3. วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายแลกกับเงินตรา
หลัก การทำสัญญาซื้อขายไม่มีแบบ
ยกเว้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นการซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ (มาตรา 456)
หลักฐานสำหรับฟ้องร้องให้บังคับคดี ในสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาจะซื้อจะขาย
2. คำมั่นจะซื้อ หรือคำมั่นจะขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
3. สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ (ชนิดธรรมดา) ซึ่งตกลงกันเป็นราคาตั้งแต่ ห้าร้อยบาท หรือกว่านั้นขึ้นไป
จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีต่อศาลได้
1. หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใด ลงลายมือชื่อ ฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
2. ได้วางประจำไว้ หรือ
3. ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อใด
1. ไม่ใช่ เมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคากันเรียบร้อยแล้ว
2. ไม่ใช่ เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อแล้ว
3. แต่หมายถึง เมื่อคู่สัญญาได้ตกลงกันได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คู่สัญญาตกลงซื้อขายกันได้เรียบร้อยเมื่อใด สัญญาซื้อขายก็สำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดเมื่อนั้น
1. การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
2. การส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อ
3. การชำระราคาแก่ผู้ขาย เป็นเพียงหนี้อันเกิดขึ้นแก่คู่สัญญาที่ได้ตกลงซื้อขายทรัพย์สินกัน ไม่ใช่เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดของการซื้อขาย
สัญญาจะซื้อจะขาย หมายถึง
 สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงกันว่าจะไปทำการซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดในวันข้างหน้า
ทำสัญญาซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด หมายถึง
 จะไปทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน

เขียนโดย อรุณวรรณ เจิมจำรูญ (แอนนี่) : นามปาก ผู้ใฝ่ดี
เรื่องสัญญาซื้อขาย
อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
ลักษณะทั่วไปของสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาซื้อขายมีคู่สัญญาสองฝ่าย
2. สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
3. วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายแลกกับเงินตรา
หลัก การทำสัญญาซื้อขายไม่มีแบบ
ยกเว้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นการซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ (มาตรา 456)
หลักฐานสำหรับฟ้องร้องให้บังคับคดี ในสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาจะซื้อจะขาย
2. คำมั่นจะซื้อ หรือคำมั่นจะขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
3. สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ (ชนิดธรรมดา) ซึ่งตกลงกันเป็นราคาตั้งแต่ ห้าร้อยบาท หรือกว่านั้นขึ้นไป
จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีต่อศาลได้
1. หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใด ลงลายมือชื่อ ฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
2. ได้วางประจำไว้ หรือ
3. ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อใด
1. ไม่ใช่ เมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคากันเรียบร้อยแล้ว
2. ไม่ใช่ เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อแล้ว
3. แต่หมายถึง เมื่อคู่สัญญาได้ตกลงกันได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คู่สัญญาตกลงซื้อขายกันได้เรียบร้อยเมื่อใด สัญญาซื้อขายก็สำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดเมื่อนั้น
1. การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
2. การส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อ
3. การชำระราคาแก่ผู้ขาย เป็นเพียงหนี้อันเกิดขึ้นแก่คู่สัญญาที่ได้ตกลงซื้อขายทรัพย์สินกัน ไม่ใช่เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดของการซื้อขาย
สัญญาจะซื้อจะขาย หมายถึง
สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงกันว่าจะไปทำการซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดในวันข้างหน้า
ทำสัญญาซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด หมายถึง
จะไปทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน

เขียนโดย อรุณวรรณ เจิมจำรูญ (แอนนี่) : นามปาก ผู้ใฝ่ดี